วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สะแก

สะแก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Combretum quadrangulare Kurz.
วงศ์  Combretaceae
ชื่อท้องถิ่น  สะแกนา (ภาคกลาง) แก (ภาคอีสาน) ขอยแข้ จองแข้ (แพร่) แพ่ง (ภาคเหนือ)
ลักษณะของพืช  สะแกเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบเรียวเข้าหากัน ดอกเป็นช่อขนาดเล็ก ผลเล็กมีปีกยื่นออกมา ๔ พูด้วยกัน
การปลูก  ปลูกโดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่ดินเหนียว ชุ่มชื้น ควรปลูกในต้นฤดูฝน วิธีปลูกโดยการเพาะเมล็ดสะแกให้เป็นต้นกล้าก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในที่ ๆ เตรียมเอาไว้ เรามักพบสะแกที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติเสมอ เช่น ในท้องนาหรือในที่รกร้างทั่วไป ชาวบ้านมักเอาต้นสะแกไปทำฟืนกันมาก เพราะแก่นของสะแกแข็งมากนั่นเอง
ส่วนที่ใช้เป็นยา  เมล็ดแก่
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา  เก็บในช่วงที่ผลแก่
รสและสรรพคุณยาไทย  ตามชนบทใช้เม็ดสะแกทอดกับไข่ให้เด็กรับประทาน ช่วยขับพยาธิไส้เดือนและพยาธิเส้นด้าย
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  เมล็ดสะแกมีน้ำและสาร Flavonoid, Combretol, Bsitosterol. Pentacyclic triterpene carboxylic acid เป็นต้น มีรายงานการทดลองโดยใช้ส่วนสกัดด้วยสารละลายอีเทอร์ ออกฤทธิ์ฆ่าพยาธิในหลอดทดลองได้ กองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาเรื่องพิษเฉียบพลันพบว่า เมื่อให้เมล็ดสะแกทางปากในขนาด ๑.๕ กรัม/กิโลกรัม สัตว์ทดลองแสดงอาการพิษคือ ขาลาก ตาโปนแดง และตายเมื่อเพิ่มขนาดสูงขึ้นมาอีก
         ดังนั้น จึงควรระวังเรื่องขนาดของยาให้มาก
วิธีใช้  เมล็ดแก่ แห้ง ของสะแก ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน โดยใช้เมล็ดแก่ ๑ ช้อนคาว (ประมาณ ๓ กรัม) ตำให้ละเอียด ทอดผสมกับไข่ให้ผู้ป่วยที่มีพยาธิไส้เดือนรับประทานในระหว่างที่ท้องกำลังว่าง
ข้อควรระวัง  ห้ามรับประทานเกินขนาดที่กำหนดเด็ดขาด อันตรายแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น