วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผักปลัง

ผักปลัง

วงศ์ : BASELLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Basella albe Linn. (ผักปลังขาว)
: Basella rubra Linn. (ผักปลังแดง)
ชื่อสามัญ : East indian spinach, Malabar Nightshade, Indian spinach
,Ceylon Spinach
ชื่อสามัญไทย : ผักปลังขาว , ผักผลังแดง, ผักปลังใหญ่
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ : โปเด้ง ฉ้าย (จีน) เหลาะขุ่ย (แต้จิ๋ว) ลั่วขุย (จีนกลาง)
หมอเมืองล้านนาใช้ส่วนต่างๆ ของผักปั๋งเป็นยา ดังนี้
1. ต้น : รสหวานเอียน เป็นยาแก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบบวม แก้ท้องผูก ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ เป็นยาระบายแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง
2. ใบ : นำมาตำใช้พอกแผลสด และแก้ฝีเนื้อร้ายแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก ระบายท้อง แก้บิด
นอกจากนี้ แม่ช่าง (หมอตำแย) ทางภาคเหนือ มักนำใบสด ตำให้ละเอียด คั้นน้ำเมือก เอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอด เพื่อช่วยให้หญิงมีครรภ์คลอดบุตรง่ายขึ้น รวมทั้งแนะนำให้หญิงมีครรภ์รับประทานผักปั๋งอีกด้วย
หมอเมืองบางท่านใช้ใบผักปั๋ง ตำกับข้าวสารจ้าว พอกแก้โรคมะเฮ็งไข่ปลา(เริม)ได้ด้วย
3. ดอก : แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ และพิษฝีดาษ แก้โรคเรื้อน โดยการคั้นน้ำจากดอกสด ๆ นำมาทาตรงบริเวณที่เป็น  ดีท็อกลำไส้ ช่วยขับถ่าย
4. ราก : ใช้เป็นยาถู หรือนวดให้ร้อน ช่วยทำให้บริเวณนั้นมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ส่วนน้ำที่คั้นจากรากนั้นเป็นยาหล่อลื่นได้อย่างดี และช่วยขับปัสสาวะ
5. ก้าน : มีสรรพคุณแก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้พรรดึก ลดไข้
6. ผล : ใช้ผลต้มรับประทานแก้ฝี และใช้ใบกับผลขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้เมื่อทาแล้วจะช่วยบรรเทาอาการ และทำให้รู้สึกเย็นขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น