วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตะไคร้

ตะไคร้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citrates (DC) Stapf.
วงศ์ Graminae
ชื่อท้องถิ่น  จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ชิดเกรบ เหลอะเกรย (เขมร สุรินทร์) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร ปราจีนบุรี)
ลักษณะของพืช  ตะไคร้เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นรวมกันเป็ฯกอ ใบยาวเรียว ปลายแหลมสีเขียวใบไม้ออกเทา มีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อยาว มีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ผลมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยติดดอกและผล ตะไคร้ปลูกง่าย เจริญงอกงามในดินแทบทุกชนิด
การปลูก  ปลูกโดยเอาลำต้นเหง้าปักชำเอาไว้ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนยาวพอสมควร ปักเอียงลงดิน ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังและปลูกได้ตลอดปี
ส่วนที่ใช้เป็นยา ลำต้นและเหง้าแก่ สดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าและลำต้นแก่
รสและสรรพคุณยาไทย รสปร่า กลิ่นหอม บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้กลิ่นคาว หรือดับกลิ่นคาวของปลา เนื้อสัตว์ได้ดีมาก
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใบและลำต้นของตะไคร้ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) มีปริมาณสูงมาก สาระสำคัญในน้ำมันก็คือ citral, Linalool, geraniol, methylheptenone เป็นต้น น้ำมันนี้เป็นยาขับลมแก้จุกเสียด และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี
วิธีใช้ ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้
          อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุก เสียด ใช้ลำต้นแก่สด ๆ ทุบพอแหลกประมาณ ๑ กำมือ (ประมาณ ๔๐-๕๐ กรัม) ต้มเอาน้ำมาดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
          อาการขัดเบา ผู้ที่เป็นปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ใช้ต้นตะไคร้แก่สดวันละ ๑ กำมือ (สดหนัก ๔๐-๖๐ กรัม แห้งหนัก ๒๐-๓๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑ ถ้วยชา (๗๕ มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินฝานเป็นแว่นบาง ๆ คั่วไฟอ่อน ๆ พอเหลือง ชงเป็นยาดื่มวันละ ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑ ถ้วยชา
         พอปัสสาวะคล่อง สะดวกแล้วก็หยุดดื่มได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น