วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Eurycoma longifolia Jack.
วงศ์  Simaroubaceae
ชื่อท้องถิ่น  แฮพันชั้น ตุงสอ (ภาคเหนือ) คะนาง ชะนาง (ตราด) หยิกบ่อถอง เอียนด่อน (ภาคอีสาน) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) เพียก (ภาคใต้)
ลักษณะของพืช  ปลาไหลเผือกเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยแข็ง เรียวปลายแหลม ดอกเป็นช่อใหญ่ยาว สีเหลือง น้ำตาล ผลสีน้ำตาลรูปไข่
การปลูก  การขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนก็ได้ ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะพื้นที่ ๆ อุดมสมบูรณ์ความชื้นสูง ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น การปลูกควรปลูกในฤดูฝน วิธีปลูกและการดูแลรักษาเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไปนั่นเอง
ส่วนที่ใช้เป็นยา รากแห้ง (รากกลมยาว เป็นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งมีสีขาว)
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา  ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน
รสและสรรพคุณยาไทย  รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย รากใช้เป็นยาแก้ไข้ตัดอการไข้ทุกชนิดได้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  รากปลาไหลเผือกมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย และมีกรดอินทรีย์ ไม่มีรายงานด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของรากปลาไหลเผือก แต่มีรายงานว่าออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลองได้ ส่วนเรื่องพิษเฉียบพลัน กองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานว่าไม่มีพิษ
วิธีใช้  เอารากแห้งของต้นปลาไหลเผือกมาแก้ไข้ได้ โดยเอามาใช้ครั้งละ ๑ กำมือ (หนัก ๘-๑๕ กรัม) ต้มกับน้ำ ดื่มก่อนอาหาร วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น หรือเวลามีอาการเป็นไข้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น