ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula Linn.
วงศ์ Leguminosae
ชื่อท้องถิ่น ลมแล้ง (ภาคเหนือ) ลักเกลือ ลักเคย (ปัตตานี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) กุเพยะ (กระเหรี่ยง)
ลักษณะของพืช คูนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ปลายแหลม ดอกเป็นช่อระย้าสีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ด้วย ฝักกลมยาว เวลาอ่อนฝักมีสีเขียวใบไม้ แก่จัดจะมีสีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้เป็นยา เนื้อในฝักแก่
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม
รสและสรรพคุณยาไทย รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ไม่ปวดมวน ไม่ไช้ท้อง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraquinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein, Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinone ทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำมาก ใช้เนื้อในฝักคูนแล้วไม่จำเป็นจะต้องไปรับประทานยาถ่าย ยาระบายอื่น ๆ ที่ต้องไปซื้อหามาเลย เป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ดีมาก
วิธีใช้ เนื้อในฝักคูนแก้อาการท้องผูกได้อย่างวิเศษ โดยการนำเอาเนื้อในฝักคูนที่แก่แล้ว เอามาสักก้อนหนึ่งขนาดหัวแม่มือ หรือหนักประมาณ ๔ กรัม เอามาต้มกับน้ำ ใส่เกลือเข้าไปเล็กน้อย ดื่มก่อนหรือตอนเช้าก่อนอาหาร เป็นยาระบายอ่อนสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำดีมาก
สำหรับสตรีที่มีครรภ์สามารพเอาสมุนไพรเป็นยานี้มาใช้ได้โดยไม่เกิดอันตรายเลย
ปลูกต้นคูนเอาไว้ในบ้านสัก ๑ ต้น เมื่อมีบริเวณ สามารถใช้ประโยชน์จากต้นคูนได้มากมาย อีกทั้งดอกคูนยังสวยงามมาก เป็นสีเหลืองอร่ามทีเดียว เวลาถึงหน้าดอกคูนออกมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น