ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofracnon Vahl.
วงศ์ Piperaceae
ชื่อท้องถิ่น ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง)
ลักษณะของพืช ดีปลีเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า และบางกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน เมื่อแก่จะมีผลเป็นสีแดง
การปลูก นิยมปลูกโดยการใช้เถา ชอบดินร่วนและอุดมสมบูรณ์ ทนแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกก็คือฤดูฝน เวลาปลูกใช้เถาที่ชำจนรากงอกแล้วปลูก แล้วทำเสาให้เลื้อย ควรดูแลเรื่องน้ำและศัตรูพืชด้วย ดีปลีเป็นสมุนไพรที่ใช้มากในอุตสาหกรรม ยาแผนโบราณประมาณ ๕,๐๐๐-๗,๐๐๐ กิโลกรัม/ปี ปลูกได้ดีในภาคกลางของประเทศไทย นับว่าเป็นพืชสมุนไพรตัวหนึ่งที่อยู่ในแผนพัฒนาเพื่อส่งเป็นสินค้าออก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่แห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน ขม ขับลม บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดีปลีแห้งประกอบด้วย “อัลคาลอยด์” ชื่อว่า Piperine ประมาณ ๔-๖% chavicine, น้ำมันระเหยหอม ๑%
ตามรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า ดีปลีใช้ประกอบตำรับยาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ท้องอืดเฟ้อ ธาตุไม่ปกติ ทั้งนี้เพราะดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย
วิธีใช้ ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการปวดท้อง รวมทั้งแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ โดยการใช้ผลแก่แห้ง ๑ กำมือ (ประมาณ ๑๐-๑๕ ดอก) ต้มเอาน้ำมาดื่ม ถ้าไม่มีดอกก็ใช้เถาต้มแทนได้
อาการไอและขับเสมหะ ใช้ผลแก่แห้งประมาณครึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือกวาดในลำคอหรือจิบบ่อย ๆ
คุณค่าทางด้านอาหาร ผลดีปลีแห้งใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารต่าง ๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น