ขลู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica Less.
วงศ์ Compositae
ชื่อท้องถิ่น หนวดงิ้ว หนาดงั่ว หนาดวัว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) คลู (ใต้)
ลักษณะของพืช ขลู่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ยอดและใบอ่อน มีขนอ่อนอยู่โดยทั่วไป ใบกลมมน ปลายใบหยัก ดอกออกเป็นช่อ ยังประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ สีขาวอมม่วง
การปลูก ขลู่เป็นพืชที่ชอบขึ้นอยู่ตามลำธารน้ำทั่วไป โดยเฉพาะที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง พบได้ทั่วไปในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย โดยการใช้กิ่งแก่ปักชำ ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใช้ใบสดและแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการไม่ปกติ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ขลู่มีสารประเภทเกลือแร่ เช่น “โซเดียม คอลไรด์” แต่ไม่พบรายงานการศึกษาทางเภสัชวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาพบว่าไม่มีพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร
วิธีใช้ ใช้เป็นยาแก้อาการขัดเบา วันละ ๑ กำมือ (ใช้ใบสดหนัก ๔๐-๕๐ กรัมแห้งหนัก ๑๕-๒๐ กรัม) หั่นเป็นชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ถ้วยชา (หรือ ๗๕ มิลลิลิตร)
คุณค่าด้านอาหาร ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่น้ำเค็มถึงจึงพบว่าในใบขลู่ก็มีเกลือแร่อยู่อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น