วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มะเขือมอญ

มะเขือมอญ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench
ชื่อสามัญ Ladies' Finger, Lady's Finger, Okra
วงศ์  Malvaceae
ชื่ออื่น :  กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทวาย มะเขือมอญ (ภาคกลาง), มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง ๐.๕ - ๒ ม. มีขนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง ๑๐ - ๒๐ ซม. ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ ๓  เส้น ดอกใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว ๘ - ๑๐ เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง ๕  กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว ๒ - ๓ ซม. หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก ผลเป็นฝักห้าเหลี่ยม ปลายเรียวแหลม มีขนทั่วไป มีเมล็ดมาก เมล็ดรูปไต ขนาด ๓ - ๖ มม.
ส่วนที่ใช้ผลอ่อน
สรรพคุณ : ใช้เป็นยาแก้จี๊ด รักษาโรคกระเพาะ
  • ยาแก้จี๊ดใช้ผลอ่อน ไม่จำกัดจำนวน นำไปต้มหรือปิ้งไฟ ใช้ทำเป็นผักจิ้มหรือแกงส้ม รับประทานสดๆ จะได้ผลดีกว่า
  • รักษาโรคกระเพาะ
    ใช้ผลมะเขือมอญ ตากแห้ง บดให้ละเอียด รับประทานครั้งบะ ๑ ช้อนโต๊ะ วันละ ๓ - ๔ เวลา หลังอาหารแล้วดื่มน้ำตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น