วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บวบขม

บวบขม



ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes cucumerina  L.
ชื่อสามัญ  
วงศ์  Cucurbitaceae
ชื่ออื่น : นมพิจิตร มะนอยจ๋า (ภาคเหนือ) กะตอรอ (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง มือเกาะมี ๒ - ๓ แขนง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลม หรือคล้ายรูปไต โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นซี่และเว้าลึกเป็น ๕ แฉก ปลายใบแหลมหรือกลม มีขนทั้งสองด้าน ก้านใบเล็ก ดอกมีการแยกเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อก้านชูดอกเล็กคล้ายเส้นด้าย มีขนเล็กน้อย กลีบรองกลีบดอกกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่แกมสามเหลี่ยมมีเส้น ๓ เส้นกลีบอยู่ชิดกัน เกสรตัวผู้ ๓ อัน รูปทรงกระบอก ดอกเพศเมีย ออกดอกเดี่ยว กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนกันกับดอกเพศผู้ รังไข่รูปยาวรี ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย ผลรูปกลมยาว หัวท้ายแหลม สีเขียวมีลายสีขาวตามยาวของผล มีขนสีแดง เมล็ดมี ๘ - ๑๐ เมล็ด รูปขอบขนาน ขอบเป็นคลื่น

ส่วนที่ใช้
รังบวบขม
สรรพคุณ : แพทย์ตามชนบทใช้รังบวบขมฟอกศรีษะแก้รังแค แก้เหาดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น