วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์  Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.
ชื่อสามัญ  Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory
วงศ์  Convolvulaceae
ชื่ออื่น :  ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี ๔-๖ ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้
ส่วนที่ใช้ ใบ รากสด ทั้งต้น เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบสด  -   เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนอง
  • รากสด - ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง
  • ทั้งต้น - แก้อาการอักเสบจากพิษแมงกระพรุนไฟ ถอนพิษลมเพลมพัด ต้มอาบแก้โรคคันตามผิวหนัง
  • เมล็ด - ป้องกันโรคตะคริว
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • แก้พิษแมงกระพรุนไฟ แก้แพ้พิษต่างๆ
  • - ใช้ใบโขลก พอก ถอนพิษ
  • - ใช้รากสด ๑ ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วยจะได้ผลดี ใช้ทาบ่อยๆ
สารเคมี
  • ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine
  • ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Essential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, ß-Sitosterol
  • ทั้งต้น พบ Citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid
  • เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น