วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทียนบ้าน

เทียนบ้าน


ชื่อวิทยาศาสตร์  Impatiens balsamina  L.
ชื่อสามัญ  Garden Balsam
วงศ์  BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น :  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง ๓๐-๘๐ ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
ส่วนที่ใช้ใบทั้งสดและแห้ง ยอดสด ต้นและรากสด เมล็ดแห้ง
สรรพคุณ :
  • ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
  • ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
  • ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
  • ต้นสด แก้แผลงูสวัด
  • รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
  • เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน
ขนาดและวิธีใช้
     แก้ปวดข้อ ใช้ใบสดต้มกับน้ำผสมเหล้าดื่ม
o     ยารักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด ๑ กำมือ ตำให้ละเอียด ตำทั้งน้ำและเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
o     แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด ๕-๑๐ ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ ๓ ครั้ง จนกว่าจะหาย
o     ยากันเล็บถอด ใช้ใบ ยอดสด ๑ กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำตาลทรายแดง ๑/๒ ช้อนชา พอกตรงเล็บ เปลี่ยนยาเช้า-เย็น
o     แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย  ใช้ใบแห้ง ๑๐- ๑๕ กรัม ต้มกับน้ำดื่ม เช้า-เย็น
o     รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ใบแห้งบดเป็นผงผสมพิมเสนใส่แผล
o     แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ใช้ยอดสดตำกับน้ำตาลแดง พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้า-เย็น
o     แก้แผลงูสวัด ใช้ต้นสดตำ คั้นเอาน้ำดื่ม เอากากพอกแผล
o     แก้บวมน้ำ ใช้รากสด ๔-๕ ราก ต้มกับเนื้อรับประทาน ๓-๔ ครั้ง
o     แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน ใช้เมล็ดแห้งของต้นเทียนบ้านชนิดดอกสีขาว ๖๐ กรัม บดเป็นผงรวมกับตังกุย ๑๐ กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ ๓ กรัม วันละ ๓ เวลา หลังอาหาร

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์  Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.
ชื่อสามัญ  Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory
วงศ์  Convolvulaceae
ชื่ออื่น :  ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี ๔-๖ ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้
ส่วนที่ใช้ ใบ รากสด ทั้งต้น เมล็ด
สรรพคุณ :
  • ใบสด  -   เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนอง
  • รากสด - ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง
  • ทั้งต้น - แก้อาการอักเสบจากพิษแมงกระพรุนไฟ ถอนพิษลมเพลมพัด ต้มอาบแก้โรคคันตามผิวหนัง
  • เมล็ด - ป้องกันโรคตะคริว
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • แก้พิษแมงกระพรุนไฟ แก้แพ้พิษต่างๆ
  • - ใช้ใบโขลก พอก ถอนพิษ
  • - ใช้รากสด ๑ ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วยจะได้ผลดี ใช้ทาบ่อยๆ
สารเคมี
  • ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine
  • ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Essential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, ß-Sitosterol
  • ทั้งต้น พบ Citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid
  • เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

พุดตาน

พุดตาน


ชื่อวิทยาศาสตร์  Hibiscus mutabilis  L.
ชื่อสามัญ :  Cotton rose, Confederate rose
วงศ์  Malvaceae
ชื่ออื่น :  ดอกสามสี  สามผิว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 เมตร  ต้นและกิ่งมีขนสีเทา  ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม  ขอบใบเว้าลึก มี 3- 5 แฉก  ใบมีขนสาก  ดอก  ซ้อนใหญ่งามมาก แรกบานมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง  ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง  มีริ้วประดับ 7- 10 อัน  ผล กลม  เมื่อแก่แตกเป็น 5 แฉก  เมล็ด รูปไต มีขน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ : ใบสด หรือใบตากแห้ง ดอก เก็บดอกตอนเริ่มบานเต็มที่ รากเก็บได้ตลอดปี ตากแห้งหรือใช้สดก็ได้
สรรพคุณ :
  • ยารักษาคางทูม
  • ยาถอนพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลมีหนอง
  • ยาแก้งูสวัด
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • ยารักษาคางทูม
  • - ใช้ใบแห้ง 10-15 ใบ บดให้ละเอียด เติมไข่ขาวผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น นำไปพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม
  • - ใช้ดอก อย่างแห้ง หนัก 3-12 กรัม ใบสด 30-40 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ใช้ภายนอก บดเป็นผงผสม หรือใช้สดตำพอก
  • ยาดถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
  • - ใช้ใบสด 3-4 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
  • ยาแก้งูสวัด
  • - ใช้ใบสด 4-5 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำซาวข้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ
  • - รากใช้เป็นยาทาภายนอก ตำพอกหรือบดเป็นผงผสมพอก
สารเคมี
  • ใบ มี Flavonoid glycosides , phenol, amino acid, tannin
  • ดอก มี  Flavonoid glycosides
  •  Flavonoid glycosides จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกไม้เมื่อบานเต็มที่ สีแดงจะมี anthocyanin ในตอนที่ดอกมีสีแดงเข้ม จะมีปริมาณของ  anthocyanin เป็น 3 เท่าของตอนที่มีดอกเป็นสีชมพู

กัญชา

กัญชา


ชื่อวิทยาศาสตร์  Cannabis sativa  L.
ชื่อสามัญ  Indian Hemp
วงศ์  Canabaceae
ชื่ออื่น :  กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้ :  เมล็ดแห้ง ดอก
สรรพคุณ :    เป็นยากล่อมประสาท (Tranquilizer) หมายถึงยาที่ช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิด ระงับอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เมื่อจิตใจสงบ ทำให้นอนหลับสบาย
วิธีและปริมาณที่ใช้
          เอาเมล็ดมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด ชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 3 กรัม รับประทานก่อนนอน
          ดอกกัญชาปรุงเป็นยารับประทาน ทำให้อยากอาหาร
** กัญชาเป็นประโยชน์ในสถานะที่เป็นยา แต่ถูกจัดเป็นพืชให้พิษต่อระบบประสาทและทำให้เสพติด ให้ดูพืชพิษเกี่ยวกับกัญชาประกอบด้วย