วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดอกอัญชัน

ดอกอัญชัน


ชื่อวิทยาศาสตร์     ฺClitoria ternatea Linn.
ตระกูล                PAPILIONACEAE
ชื่อสามัญ             Butterfly Pea.

อัญชันเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยล้มลุกขนาดเล็ก มีเถาขนาดเล็กและอ่อน แต่ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 ฟุต ลักษณะเถาจะค่อนข้างกลม สีเขียวแต่หากเถาแก็จะเป็นสีน้ำตาล ตามลำต้นจะมีขนนุ่ม ๆ ปกคลุมโดยทั่วไป
ส่วนที่ใช้ ประโยชน์
ดอก
รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม
น้ำคั้นจากดอก
ใช้ทาทำให้ผม หนวด เครา และคิ้วดก
คนโบราณใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วเด็กดกดำ
ใช้ในอุตสาหกรรม
ผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด
สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานินใช้เป็นสารบ่งชี้ (indicator) แทนลิตมัส (lithmus) เมื่อเติมน้ำมะนาว (กรด) ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง
ใช้แต่งสีขนมใช้ผสมอาหารให้สีม่วง
เช่น ข้าวดอกอัญชัน ขนมดอกอัญชัน ขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู
ขนมดอกอัญชัน
เมล็ด
เป็นยาระบาย
ใบและราก
อัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย
ชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ

มะขวิด

มะขวิด


          ลักษณะ  :  เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบไว สูง 15 - 25 ม.เปลือกนอกสีเทา เปลือกในสีขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รูปทรงต้นสวยงาม ใบ เป็นช่อแบบข้อต่อเรียงสลับหรือติดเป็นกระจุกบริเวณปุ่มตามกิ่ง ช่อใบ ยาว 8 - 15 ซม. แต่ละช่อ มี 1 - 4 ปล้อง เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยงหลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจางกว่า ถ้าเอาใบส่องผ่านแสงจะเห็นต่อมน้ำมันทั่วไป รูปรี ๆ ใส ๆ มากมาย ขอบใบเรียบก้านใบย่อยสั้นมาก ส่วนก้านช่อใบ ยาว 3 - 4 ซม. ดอก เล็กสีขาวอมแดงคล้ำ ๆ ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆในแต่ละช่อมีทั้งดอกเพศผู้และดอกรวมเพศ ผล แบบผลแห้ง เมล็ดจำนวนมาก รูปผลกลมโต เปลือกนอก แข็งเป็นกะลา สีเทาอมขาว ขนาดผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 - 10 ซม. เนื้อในอ่อนนิ่ม เมื่อสุกเนื้อเยื่อในสีดำและรับประทานได้ มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว มียางเหนียวใช้เป็นกาวได้ เมล็ดเคี้ยวกินกรุบ ๆ อร่อยดี
          ส่วนที่นำมาใช้ :   ราก เปลืก ใบ ผล และยาง
          ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Feronia limonia (L.) Swing.
          ชื่อวงศ์  :  RUTACEAE
          ชื่อท้องถิ่น  :  มะฝิด (ภาคเหนือ)
          สรรพคุณ  :  ราก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต  เปลือก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต   ใบ แก้ฟกบวม แก้พยาธิ แก้ฝีเปื่อยพัง แก้ท้องร่วง แก้ตกโลหิต (ห้ามโลหิตระดูสตรี) ขับลม ฝาดสมาน   ดอก แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต  ผล แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต เป็นยาบำรุงทำให้สดชื่น เจริญอาหาร บำบัดโรคท้องเสีย รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร รักษาโรคลักปิด-ลักเปิด   ยาง เจริญไฟธาตุ แก้ท้องเสีย สมานบาดแผล

ขมิ้นขาว

ขมิ้นขาว

ชื่อสมุนไพร : ขมิ้นขาว
ชื่อพื้นเมือง : ขมิ้นม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma mangga Val.&.Zijp.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน ใบเหมือนกับขมิ้นแต่ลำต้นเตี้ยกว่าขมิ้น
  • ใบ ใบเดี่ยวรอบๆ ขอบใบด้านนอกจะมีสีขาวแต้มอยู่ทั่วไป
  • เหง้า เหง้าใต้ดินมีสีขาวมีกลิ่นหอม แต่มีกลิ่นและรสเผ็ดน้อยกว่าขิง
  • รส : ขมิ้นขาว รสเผ็ด

สรรพคุณทางยา : ขับลมในลำไส้ขมิ้นขาว สรรพคุณ ขมิ้นมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า curcumin ป้องกันมะเร็งได้ น้ำต้มขมิ้นมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำดี ใช้รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี และโรคกระเพาะอาหารได้ ขมิ้นสดยังช่วยขับลม แก้ท้องอืดอีกด้วย

ขิง

ขิง

ชื่อท้องถิ่น ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงแครง ขิงเขา ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง(จันทบุรี) ขิงเผือก(เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขิงเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะคล้ายมือหรือที่เรียกว่า เหง้าเปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้ากนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง
สรรพคุณ
ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมาก
1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้ามาทุบพอแตกต้มกับน้ำ
2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด
3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้าวย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
4. รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ
5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง

โกฐทั้ง ๙

โกฐ ทั้ง ๙

โกฐทั้ง 9 ประกอบด้วย โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกศชะภามังษี
โกฐสอ
สรรพคุณ : แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะทำให้เกิดคันคอแล้วไอ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
โกฐหัวบัว
สรรพคุณ : แก้ลมอันเกิดจากอาการริดสีดวงภายในลำไส้ แก้ขับไล่กระจายกองลมทั้งปวงในกระเพาะ ทำให้ผายลมหรืออาการเรอออกมาทางปาก เจริญอาหารระงับอาการคลื่นเหียนในลำไส้ ฯ
โกฐเชียง
สรรพคุณ : แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้เสียดแทงสองราวข้าง
โกฐก้านพร้าว
สรรพคุณ : แก้ไข้สะอึก แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้เสมหะเป็นพิษ
โกฐพุงปลา
สรรพคุณ : ใบ เป็นยาแก้โรคท้องเดิน ราก ใช้ปรุงเป็นยาฝาดสมานแก้ปวดเบ่ง แก้ท้องร้วง แก้โรคบิด แก้อาเจียน เสมหะพิการ เมื่อนำมาบดหรือเคี้ยวผสมกับพลูเป็นยาแก้ไอ ถ้าใช้ภายนอกเป็นยาสมานแผล
โกศจุฬาลัมพา
สรรพคุณ : ทั้งต้น รสสุขุมหอมร้อน แก้ไข้เจรียง แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้จับ เป็นยาเร่งประสาทส่วนกลางเหมือนการบูร ขับลม
โกฐกระดูก
สรรพคุณ : แก้ลมในกองเสมหะ (ลมในตอนเช้า) บำรุงกระดูก
โกฐชะภามังษี
สรรพคุณ : รสสุขุมหอม กระจายหนอง ขับแม่พยาธิ แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับโลหิตระดูเน่าเสีย
โกฐเขมา
สรรพคุณ : รสหอมสุขุม แก้โรคในปากคอ แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้หอบหืด แก้ลมในกองธาตุ

สมุลแว้ง

สมุลแว้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cinamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet
วงศ์ : Lauraceae

          สมุลแว้ง มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อด้วยกัน ได้แก่
ซางจิง (เชียงใหม่) บัวละแวง สมุนละแว้ง มหาจาง (เหนือ) ไผ่ลำต้น (อุดรธานี) ฮั้งไก้ เดิมนวลปี (เขมร) ลังไก่ ต้นแหวง (ใต้) เป็นพืชยืนต้น
สรรพคุณ: เปลือกต้น รสหอมร้อนปร่า แก้ลมแก้วิงเวียน ใจสั่น แก้พิษหวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ

          อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบในยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนพิเศษ 42 ลงวันที่ 3 ตุลาคม2537 ได้แก่
1. ตำรับยาหอมทิพโอสถ ซึ่งใช้แก้ลมวิงเวียน
2. ตำรับยาหอมนวโกฐ แก้ลมคลื่นเหียนอาเจียน
3.ตำรับยาวิสัมพยาใหญ่ แก้ท้องอืด จุกเสียด
4. ตำรับยาธาตุบรรจบ แก้ท้องเสีย
5. ตำรับยามันทธาตุ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ชะลูด

ชะลูด

             ในทุกหน้าของการเดินป่าอีสานจะมีกลิ่นหอมเฉพาะของไม้เถาเล็กๆ ขนาดของเถาประมาณ ๑-๑.๕ ซ.ม. ลักษณะเด่นคือใบจะออกตามเปราะของเถา เปราะละ ๓ ใบ คนอีสานเรียกเจ้าไม้เถาหอมนี้ว่า "ตั้งตุ่น"
          ชื่อ ตั้งตุ่น ออกจะแปลกสำหรับคนภาคอื่น แต่ในบรรดาหมอยาอีสานจะเป็นที่รู้จักกันดี เพราะในใบลานเก่าๆ ของอีสานก็มีชื่อสมุนไพรต้นนี้อยู่ โดยจะมีการใช้เจ้าตั้งตุ่นเป็นยาสารพัด ที่เด่นๆ คือใช้ในการรักษากามโรค แก้ตกขาว เป็นยาขับลม แก้ไข้และเป็นยาบำรุง
          หมอยาอีสานจะใช้ทุกส่วนของสมุนไพรต้นนี้เป็นยา ตำรับยาที่ใช้ในการรักษากามโรคและตกขาว จะใช้ตั้งตุ่นและรากเอนอ้าขาว เอนอ้าแดงต้มกิน ส่วนในการใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาขับลม หรือยาบำรุงจะใช้ตั้งตุ่นต้มกินอย่างเดียวหรือต้มรวมกับสมุนไพรอื่นก็ได้
          ไทยภาคกลางจะเรียกเจ้าต้นตั้งตุ่นของอีสานว่า "ชะลูดขาว" ในตำรายาไทยกล่าวว่ารากชะลูดขาวรสสุขุม บำรุงกำลัง แก้ใจสั่นหงุดหงิด แก้เสมหะและไข้พิษ ทั้งต้นมีรสหอมชุ่ม บำรุงกำลัง บำรุงตับปอด หัวใจให้ชุ่มชื่น ใบชะลูด มีรสสุขุม มีสรรพคุณแก้ไข้ กระจายโลหิตที่คั่งค้าง
          จะเห็นว่าการใช้ประโยชน์ชะลูดด้านยาของคนไทยภาคกลางกับภาคอีสาน มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก นอกจากนั้น คนสมัยก่อนแทบทุกภาค จะมีการใช้เนื้อไม้ด้านในของชะลูดแต่งกลิ่นหอม โดยจะลอกเอากาบด้านมาผึ่งแดดให้แห้ง นำมาป่นให้ละเอียด ผสมกับเปลือกต้นโบง (มียางเหนียว) ที่ตากแห้งป่นให้ละเอียดแล้วเช่นกัน ใช้ทำธูปหอม
          สมัยก่อนทุกบ้านจะต้องใช้ธูปบูชาพระ ชะลูดจึงเป็นสิ่งจำเป็นทีเดียว เพราะแต่ก่อนเรายังไม่มี น้ำหอมใช้กัน นอกจากนั้น ยังมีการนำเอาเปลือกด้านในที่ตากแห้งแล้วของชะลูด ไปอบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม นำไปแต่งกลิ่นในบุหรี่
          ชะลูดจึงเป็นสมุนไพรที่ทุกคนรู้จักใช้กันทั่ว ไม่ใช่พืชที่แปลกใหม่อะไรเลย ในยุคนั้นถ้าใครไม่เคยใช้เจ้าตั้งตุ่นหรือชะลูดคงถูกมองดูแปลกๆ ว่าหลงมาจากไหน เพราะนอกจากจะมีมากในป่าด้านแถวอีสาน แล้ว ป่าพื้นราบแถวๆ เมืองจันทน์หรือแถวป่าตะวันออกก็มีดาษดื่น ในภาคใต้ก็มีเช่นกันแต่สายพันธุ์อาจแตกต่างกันบ้าง จึงมีการใช้ชะลูดในการเป็นแต่งกลิ่นหอมทั่วทุกภาค
          ปัจจุบันไม่ค่อยมีคนรู้จักชะลูดมากนัก เพราะเรามีน้ำหอมจากต่างประเทศราคาแพงมาจำหน่าย ชะลูดจึงหมดความสำคัญไปเหมือนๆ เพื่อนสมุนไพรตัวอื่นๆ ที่ถูกแทนที่โดยยาฝรั่ง
          ความจริงแล้วชะลูดเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจมากต้นหนึ่ง ที่ควรนำมาพัฒนาให้เป็นยาและสมุนไพรเครื่องหอม เราสามารถที่จะนำชะลูดมาบดเป็นผงใส่ซองทำเป็นชาชงหรือทำเป็นยาต้มบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ตามสรรพคุณที่บรรพบุรุษเราใช้มา หรือทำในเชิงเป็นเครื่องหอมตามศาสตร์ของอโรมาเทอราปี (Aromaherapy) ที่ฝรั่งเขาฮิตกันนักหนา ด้วยเชื่อว่าของหอมๆ จะมีสรรพคุณในการกระตุ้นต่อมต่างๆ ของร่างกายให้ฟื้นฟูตัวเองขึ้นมา

มะกรูด

มะกรูด

มะกรูด มีชื่อพื้นเมืองเรียกกันหลายชื่อทางภาคเหนือ เรียกว่า มะขูด มะขุน ภาคใต้เรียกว่า ส้มกรูด ส้มมั่วผี ภาคอีสาน เรียกว่า มะหูด โดยเฉพาะที่จังหวัดหนองคาย
            มะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง ประกอบไปด้วยใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว สีเขียวหนามีลักษณะคอดกิ่วกิ่งกลางใบเป็น ตอน ๆ มีกลิ่นหอมมาก เพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ดอก ออกดอกเป็นกระจุก 3-5 ดอก กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย ผล มีหลายแบบแล้วแต่พันธุ์ บางพันธุ์มีผลใหญ่และขรุขระมาก มีจุกที่หัว บางพันธุ์ผลเล็กเท่ามะนาว ผิวขรุขระน้อยกว่า และไม่มีจุกที่หัว
            ประโยชน์ทางยาของมะกรูด ส่วนที่นำมาทำเป็นยา คือ ผิวมะกรูด ผล ราก น้ำมะกรูดและใบ ซึ่งนับว่านำมาใช้เป็นส่วนประกอบทางยาสมุนไพรได้หลายชนิด รสและสรรพคุณของมะกรูดในตำรายาไทย ผิวผลสดและผลแห้งมีรสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
            ผลมีรสเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต ใช้สระผม จะทำให้ผมดกดำ เงางาม ไม่มีรังแคและไม่คันศีรษะ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้องในเด็ก
            ราก รากของมะกรูดจะมีรสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะเป็นโทษ ปรุงผสมกับยาตัวอื่น เป็นยาแก้ลมจุกเสียด ถอนพิษผิดสำแดง
            ขนาดและวิธีใช้
            - แก้เป็นลม ลมหน้ามืด ใช้ผิวผลสดสูดดม ขณะเป็นลม ผิวผลแห้งใช้หั่นใส่ในน้ำหอมผสมกับของหอมอื่น ๆ ดมแก้อาการเป็นลมหน้ามืด
            - แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ ใช้ผิวผลสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1-2 หยิบมือ ผสมกับการบูรหนึ่งหยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3-5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ
            - เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือป่นเล็กน้อย ลนไฟให้เปลือกผลนิ่มค่อย ๆ บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ จะช่วยให้คอโล่ง เสมหะจะละลายออกมาและระงับอาการไอ
            - เป็นยาขับผายลม แก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้มะกรูด 1 ผล ตัดจุกคว้านเอาไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่กลางผล แล้วปิดจุก สุมไฟให้เกรียมกรอบ บดให้เป็นผงละลายกับน้ำผึ้งป้ายลิ้นเด็กอ่อนตั้งแต่แรกคลอด
            - เป็นยาสระผมหรืออาบโดยใส่มะกรูดผ่าซีกลงในหม้อร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ ต้ม อาบ อบจะได้ทั้งน้ำมันหอยระเหยที่อยู่บนผิว และรสเปรี้ยวจากมะกรูดจะช่วยให้อาบสะอาดยิ่งขึ้น และถ้าใช้มะกรูดผ่าซีกสระผม จะทำให้ผมลื่นดกดำ ไม่มีรังแค
            - ใช้เป็นยาฟอกโลหิตสำหรับสตรี (ในตำรายาพื้นบ้าน) ใช้น้ำมะกรูดดองยาและเรียกยานั้นว่า ยาดองเปรี้ยวเค็มใช้รับประทานน้ำมะกรูดป้องกันมิให้ยาดองขึ้นราได้ และทำปฏิกิริยากับสมุนไพร เช่น เปลือกหอยละลายเกลือหินออกมาจะได้ยาที่ดูดซึมในร่างกายได้ดี
            - แก้ไข้หวัด ปวดศีรษะ ใช้ใบมะกรูดและใบมะนาวต้มน้ำรับประทาน
            ข้อควรระวัง เนื่องจากน้ำมะกรูดมีฤทธิ์เป็นกรด อาจทำลายเคลือบฟันได้ ดังนั้นเมื่อจิบน้ำมะกรูด ควรพยายามให้ถูกฟันน้อยที่สุด และหลังจากจิบไป 2-3 ครั้งควรบ้วนปากล้างกรดออกไป
            หากใช้เป็นยาสระผม ควรทำผมให้เปียกชุ่มทั้งศีรษะก่อนใช้มะกรูดสระผม เพื่อให้น้ำบนศีรษะช่วยลดความเป็นกรดของมะกรูดลง
            เมื่อนำใบมะกรูดมากลั่นด้วยไอน้ำ จะให้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 1.29 % ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากผิวมะกรูดจะมีปริมาณ 6-7 % และน้ำในมะกรูดจะมีกรดซิตริก วิตามินซีและกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ
            ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่นำมาใช้ คือ ผิวมะกรูด ใบมะกรูดและผลมะกรูดใช้เป็นเครื่องปรุงพริกแกง เครื่องเทศ นิยมใช้ผิวจากผลมะกรูดมาเป็นเครื่องเทศ เป็นส่วนผสมของพริกแกง ใบมะกรูดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป นิยมหั่นเป็นฝอยใส่ในยำ พร่า ก้อย ใบแก่ใส่แกงเผ็ด ต้มยำ ต้มโคล้ง ผลผ่าซีกใส่ในแกงเทโพ และขนมจีนน้ำพริก น้ำจากผลจะมีรสเปรี้ยวใช้แต่งรสปลาเจ่า ปลาร้า นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องหอม เช่น ในเทียนอบ
            คุณค่าทางโภชนาการของผิวมะกรูดและใบมะกรูด จะให้พลังงานต่อร่างกาย
            ประกอบด้วยน้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1,2 ไนอาซีนและวิตามินซี

กระชายดำ

กระชายดำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia pafiflora
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น
ดอก จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรสีเหลือง
สรรพคุณทางยา
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า
เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย
ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น
ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น
สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว
ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ
ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,โรคหัวใจ..อื่นๆ
สรรพคุณ
- บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
- กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
- บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
- ขับลม ขับปัสสาวะ - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- แก้โรคกระเพาะอาหาร - บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill
ชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ : Asphodelaceae
ชื่ออื่น : หาง ตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วย
ว่านหางจระเข้เป็นพืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 60100 ซม. (2439 นิ้ว) ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออก
ดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซม (35 นิ้ว) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 23 ซม. (0.81.2 นิ้ว)ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น

ผักปลัง

ผักปลัง

วงศ์ : BASELLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Basella albe Linn. (ผักปลังขาว)
: Basella rubra Linn. (ผักปลังแดง)
ชื่อสามัญ : East indian spinach, Malabar Nightshade, Indian spinach
,Ceylon Spinach
ชื่อสามัญไทย : ผักปลังขาว , ผักผลังแดง, ผักปลังใหญ่
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ : โปเด้ง ฉ้าย (จีน) เหลาะขุ่ย (แต้จิ๋ว) ลั่วขุย (จีนกลาง)
หมอเมืองล้านนาใช้ส่วนต่างๆ ของผักปั๋งเป็นยา ดังนี้
1. ต้น : รสหวานเอียน เป็นยาแก้พิษฝีดาษ แก้อักเสบบวม แก้ท้องผูก ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ เป็นยาระบายแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง
2. ใบ : นำมาตำใช้พอกแผลสด และแก้ฝีเนื้อร้ายแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก ระบายท้อง แก้บิด
นอกจากนี้ แม่ช่าง (หมอตำแย) ทางภาคเหนือ มักนำใบสด ตำให้ละเอียด คั้นน้ำเมือก เอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอด เพื่อช่วยให้หญิงมีครรภ์คลอดบุตรง่ายขึ้น รวมทั้งแนะนำให้หญิงมีครรภ์รับประทานผักปั๋งอีกด้วย
หมอเมืองบางท่านใช้ใบผักปั๋ง ตำกับข้าวสารจ้าว พอกแก้โรคมะเฮ็งไข่ปลา(เริม)ได้ด้วย
3. ดอก : แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ และพิษฝีดาษ แก้โรคเรื้อน โดยการคั้นน้ำจากดอกสด ๆ นำมาทาตรงบริเวณที่เป็น  ดีท็อกลำไส้ ช่วยขับถ่าย
4. ราก : ใช้เป็นยาถู หรือนวดให้ร้อน ช่วยทำให้บริเวณนั้นมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ส่วนน้ำที่คั้นจากรากนั้นเป็นยาหล่อลื่นได้อย่างดี และช่วยขับปัสสาวะ
5. ก้าน : มีสรรพคุณแก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้พรรดึก ลดไข้
6. ผล : ใช้ผลต้มรับประทานแก้ฝี และใช้ใบกับผลขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้เมื่อทาแล้วจะช่วยบรรเทาอาการ และทำให้รู้สึกเย็นขึ้น

พริกขี้หนูสวน

พริกขี้หนูสวน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Capsicum flutescens Linn.
ชื่อวงศ์: SOLANACAEAC
ชื่อสามัญ: Bird Chilli
ชื่อท้องถิ่น: พริกแต้  ดีปลีขี้นก  หมักเพ็ด
ลักษณะทั่วไป:  พริกเป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู  ลำต้นตั้งตรง  สูงประมาณ 1-1.25 ฟุต  ใบแบนเรียบเป็นมัน  ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดเล็ก  กลีบดอกจะมีสีขาว  หรือสีม่วง  เกสรตัวผู้ 1-10 อัน  เกสรตัวเมีย 1-2 อัน  ผลหลายขนาด  ผลขนาดเล็กยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว  ลูกอ่อนสีเขียวเข้ม  เมื่อแก่เป็นสีแดง
 การปลูกพริก : ชอบดินร่วนซุย   และอากาศร้อน
การขยายพันธุ์:  โดยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์: ยอดอ่อนรับประทาน  โดยลวกเป็นผักแกล้มน้ำพริก  หรือนำไปปรุงอาหารประเภทแกงจืด  แกงเลียง  มีสรรพคุณทางยาขับลม  ขับปัสสาวะ
ความลับของพริกขี้หนู
๑.   แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตัวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ
๒.   แก้เจ็บคอ เสียงแหบ   ใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนู กลัวคอแก้ เจ็บคอและเสียงแหบได้ โดยใช้พริกขี้หนูป่น ๑ หยิบมือเติมน้ำเดือดลง ไป ๑ แก้ว ทิ้งไว้พออ่อน ใช้น้ำกลัวคอ
๓.   ช่วยขับลม  แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร
๔.   แก้ปลาดุกยัก  ใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม ไม่ฟกช้ำด้วย
๕.   แก้เท้าแตก  ใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สิ่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยาก ใส่ลงไปด้วย
๖.   แก้บวม  ใบพริกขี้หนู บดผสมน้ำมะนาว พอกบริเวณที่บวม
๗.   รักษาแผลสดและแผลเปื่อย  ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผล สดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน
๘.   ใบเป็นอาหาร  ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูก บำรุง ประสาท
๙.   แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด  ใช้พริกขี้หนูแห้ง ตำผงละลาย น้ำมะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก
๑๐. มดคันไฟกัด   ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก็ได้ ถูบริเวณถูกกัด  หายแล

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tinospora crispa  (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson
วงศ์  Menispermaceae
ชื่ออื่น :  ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5  เถาสด
สรรพคุณ :
  • ราก 
  • - แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
  • - ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
  • - เจริญอาหาร
  • ต้น
  • - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
  • - บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
  • - แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
  • - แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
  • - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
  • - เป็นยาขมเจริญอาหาร
  • - เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบ
  • - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
  • - ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
  • - บำรุงธาตุ
  • - ยาลดความร้อน
  • - ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
  • - รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
  • - ช่วยให้เสียงไพเราะ
  • - แก้โลหิตคั่งในสมอง
  • - เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอก
  • - ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
  • ผล
  • - แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
  • - แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ
  • ส่วนทั้ง 5
  • บำบัดรักษาโรค ดังนี้
  • - เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น
วิธีการและปริมาณที่ใช้ :
          ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
  • อาการไข้ ลดความร้อน
  • - ใช้เถาแก่สด  หรือต้นสด ครั้งละ  2  คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
  • - หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว
  • เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
  • โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้