ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomson
วงศ์ : Menispermaceae
ชื่ออื่น : ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี,อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง
ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5 เถาสด
สรรพคุณ :
- ราก
- - แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
- - ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- - เจริญอาหาร
- ต้น
- - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
- - บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
- - แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
- - แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
- - แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
- - เป็นยาขมเจริญอาหาร
- - เป็นยาอายุวัฒนะ
- ใบ
- - แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
- - ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
- - บำรุงธาตุ
- - ยาลดความร้อน
- - ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
- - รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
- - ช่วยให้เสียงไพเราะ
- - แก้โลหิตคั่งในสมอง
- - เป็นยาอายุวัฒนะ
- ดอก
- - ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
- ผล
- - แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
- - แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ
- ส่วนทั้ง 5
- บำบัดรักษาโรค ดังนี้
- - เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น
วิธีการและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
- อาการไข้ ลดความร้อน
- - ใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
- - หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว
- เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
- โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น