วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พญายอ

พญายอ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau.
วงศ์ Acanthaceae
ชื่อท้องถิ่น ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) เสลดพังพอนตัวเมีย พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)
ลักษณะของพืช พญายอเป็นพืชไม้พุ่มแกมเลื้อย เถาและใบมีสีเขียวใบไม้ ไม่มีหนาม ใบยาวเรียว ปลายแหลม ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ดอกออกเป็นช่ออยู่ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี ๓-๖ ดอก กลีบดอกเป็นดอก ปลายแยก สีแดงอมส้ม
การปลูก ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ตัดกิ่งออกมาสัก ๒-๓ คืบ ปักชำให้ออกรากดีแล้วก็ย้ายลงปลูกในแปลง ดูแลรักษาเช่นเดียวกับพืชทั่วไป
ส่วนที่ใช้เป็นยา  ใบ
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา  เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป
รสและสรรพคุณยาไทย รสจืด
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จากการรายงานในขั้นต้นพบว่า ใบของพญายอสามารถลดอาการอักเสบของหนูได้ดี โดยเฉพาะส่วนที่สกัดด้วยสารละลาย บิวทานอล วงศ์สถิต ฉั่วกุล และคณะ ได้ศึกษาพบว่าสาระสำคัญตัวหนึ่งเป็น เฟลโวนนอยด์ ส่วนฤทธิ์ในการต้านพิษงูไม่ชัดเจน และปลอดภัยพอที่จะใช้ได้ ขณะนี้กำลังศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ซึ่งอาจจะพบทราบผลดีแล้วในปัจจุบัน
วิธีใช้  ใบพญาพอนี้ รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้) จากแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้งต่อย ต่อ แตน ต่อย โดยการเอาใบสดของพญายอนี้มาสัก ๑๐-๑๕ ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) จัดการล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมเหล้าขาวพอชุ่มยา ใช้น้ำและกากทาพอกบริเวณที่เจ็บบวม หรือที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อยเอา ไม่มียาอย่างอื่นโปรดลองใช้สมุนไพรตัวนี้ก็ได้ผลดีทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น