วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำฝอย

คำฝอย

สรรพคุณ : 
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
เกสร  บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
เมล็ด เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม ขับโลหิตประจำเดือน ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
ดอกแก่ ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง



คำฝอย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Carthamus tinctorius Linn.
วงศ์  Compositae
ชื่อท้องถิ่น  คำ ดอกคำ (ภาคเหนือ) คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะของพืช   คำฝอยเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ ๑ เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม ก้านใบสั้น ใบรูปร่างรียาว ริมใบหยักแหลม เนื้อใบเรียบ ดอกออกรวมกันเป็นช่อ อัดแน่นบนฐานดอก รูปร่างกลมเหมือนดอกดาวเรือง ดอกย่อยสีเหลืองค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม พอดอกแก่จะเป็นสีส้มแดง
การปลูก  เป็นพืชที่ปลูกได้ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีการปลูกกันที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ปลูกโดยการใช้เมล็ด ในฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาวก็ได้ วิธีปลูกให้ไถพรวนดินก่อน แล้วขุดหลุมปลูกหลุมละ ๓ เมล็ด พองอกดีแล้วให้ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป ให้เหลือหลุมละ ๑-๒ ต้นก็พอ คอยดูแลอย่าให้มีน้ำขัง กำจัดวัชพืชให้ดีรวมทั้งศัตรูพืชอีกด้วย
คุณค่าทางด้านอาหาร  คำฝอยปลูกกันในประเทศไทยยังไม่มากนัก ปรากฏว่าในเมล็ดดอกคำฝอยมีน้ำมันมาก จากการค้นคว้าสารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบได้ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้ ในประเทศจีนดอกคำฝอยใช้เป็นยาเกี่ยวกับสตรีที่แพร่หลายมาก ตำรับยาที่รักษาประจำเดือนคั่งค้างไม่ปกติ หรืออาการปวดบวมฟกช้ำดำเขียวมักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำ แช่เหล้า หรือใช้วิธีตำแล้วพอกเอาไว้ แต่ก็มีข้อควรระวัง คือ สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
          ชาดอกคำฝอย ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้โดยใช้ดอกคำฝอยแห้ง 2 หยิบมือ (๒.๕) ชงกับน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้ดีมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น