วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มะหาด

มะหาด
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb.
วงศ์ Moraceae
ชื่อท้องถิ่น หาด (กลาง) หาดใบใหญ่ (ตรัง) หาดขนุน (เหนือ) กาแย ตาแป (นราธิวาส) ปวกหาด (เชียงใหม่)
ลักษณะของพืช มะหาดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบแก่ มีรูปใบเป็นรูปไข่ หรือขอบขนานรี ริมใบเรียบ ดอกเป็นช่อสีเหลือง ลูกกลม
การปลูก นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด วิธีปลูกจะต้องเพาะต้นก่อน แล้วจึงนำเอามาปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม ระยะแรกดูให้น้ำและกำจัดวัชพืชด้วย มะหาดที่เจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุได้ ๕ ปีแล้ว
ส่วนที่ใช้เป็นยา แก่นต้นมะหาด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงอายุต้นมะหาด ๕ ปีขึ้นไปแล้ว
รสและสรรพคุณยาไทย ปวกหาดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืดได้ ละลายกับน้ำใช้ทาแก้ผื่นก็ได้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ปวกหาดได้มาจากแก่นมะหาด นำเอามาต้มเคี่ยวกับน้ำจะมีฟองเกิดขึ้น ช้อนฟ้องขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผลสีเหลืองเรียกว่า ผงปวกหาด มีสารเคมีที่สำคัญชื่อ “2,3,4,5-tetrahydroxystilbene จากการศึกษาวิจัยพบว่าสารนี้ให้ผลดีในการขับพยาธิตัวตืด ทั้งในห้องทดลองและในคนไข้ แต่บางรายที่ใช้เกิดมีอาการข้างเคียง คือ เกิดอาการคลื่นไส้ มีผื่นขึ้นมาตามผิวหนังทั่วไป ตามตัว ใบหน้า ผิวหนัง จะแดงและคันด้วย กองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
วิธีใช้  ผงปวกหาดเตรียมได้โดยการนำเอาแก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวกับน้ำ จะเกิดฟองขึ้นแล้วช้อนเอาฟองขึ้นมาตากแห้งจะได้ผลสีเหลือง วิธีใช้ให้นำเอาผลปวกหาดมาบดให้ละเอียด รับประทานกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา (ประมาณ ๓-๕ กรัม) ก่อนอาหารเช้า
          หลังจากรับประทานผงปวกหาดแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือหรือยาถ่ายตามทันที ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนได้ดี
          ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น