เทียนกิ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lawsonia inermis L.
ชื่อสามัญ : Henna
วงศ์ : Lythraceae
ชื่ออื่น : เทียนขาว เทียนแดง เทียนไม้ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง ๓-๕ เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียวนวล แตกกิ่งก้านเล็กเป็นพุ่มกว้าง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง ๑-๒ ซม. ยาว ๓-๔ ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกสีแดงหรือสีขาว กลีบดอก ๔ กลีบ ยับย่น เกสรเพศผู้มี ๘ อัน เกสรเพศเมียมี ๑ อัน ผล รูปทรงกลม สีเขียว พอแก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ : ใบสดและแห้ง ราก เปลือกต้น ดอก ผล
ส่วนที่ใช้ : ใบสดและแห้ง ราก เปลือกต้น ดอก ผล
สรรพคุณ :
- ใบ
- มีตัวยาสำคัญชื่อลอร์โซน (Lawsone) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยากันเล็บถอด เล็บช้ำ เล็บขบ แก้ปวดนิ้วมือนิ้วเท้า แผลมีหนอง ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน ฝี แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ผิวหนังอักเสบ
- รักษากามโรค แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับปัสสาวะ
- ในสมัยโบราณ ใช้เป็นเครื่องสำอาง พอกเล็บ เป็นยาย้อมผม ขน - ราก - ใช้ขับประจำเดือน รักษาตาเจ็บ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคลมบ้าหมู
- เปลือก - ขับน้ำเหลืองเสียในโรคเรื้อน
- ดอก - ใช้ขับประจำเดือน แก้ปวดศีรษะ รักษาดีซ่าน
- ผล - ใช้ขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- ยากันเล็บถอด เล็บขบ เล็บช้ำ
วิธีที่ ๑ ใช้ใบเทียนกิ่งสด ๒๐-๓๐ ใบ ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียด เอาข้าวสุกปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าแม่มือ เผาไฟให้บางส่วนดำเป็นถ่านตำรวม ใส่เกลือเล็กน้อย พอกที่เล็บซึ่งถูกของหนักๆ ทับ หรือตรงจมูกเล็บเป็นหนอง หนองก็จะหาย เล็บไม่ถอด
วิธีที่ ๒ ใช้ใบเทียนกิ่งสด ๒๐-๓๐ ใบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น