ตาเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amoora culcullata Roxb.
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : แดงน้ำ (ภาคใต้) ตาเสือ, โกล (ภาคกลาง) เซ่ (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง อาจสูงถึง 18 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 30-50 ซม. จากผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 20-40 ซม. ขอบใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ไม่สมมาตรกัน ขนาด 3-6 x 8-17 ซม. ปลายใบแหลมถึงมน ฐานใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อ เพศผู้เป็นแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกห้อยลง แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.4 ซม. สีเหลือง ดอกเพศเมียเป็นแบบช่อกระจะ มีดอกจำนวนน้อย วงกลีบเลี้ยงแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก 3 กลีบ ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 ซม. มี 3 พลู ผลแก่แห้งแตกกลางพลู เมล็ด มีเยื่ออ่อนนุ่มสีแดงหุ้ม
เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อยตามริมชายฝั่งของแม่น้ำที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น เนื้อไม้ ผล ใบ
เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อยตามริมชายฝั่งของแม่น้ำที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น เนื้อไม้ ผล ใบ
สรรพคุณ :
- เปลือกต้น - รสฝาด กล่อมเสมหะ ขับโลหิต
- เนื้อไม้ - รสฝาด แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย
- ผล - แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
- ใบ - แก้บวม
ที่มาของภาพและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ http://www.dmcr.go.th/omrc/flower06.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น