วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทย


ชื่อวิทยาศาสตร์  Senna tora (L.) Roxb.  ชื่อพ้อง : Cassia tora  L.
ชื่อสามัญ Foetid Cassia
วงศ์   Leguminosae - Caecalpinoideae
ชื่ออื่น :  กิเกีย, หน่อปะหน่าเหน่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ชุมเห็ดควาย, ชุมเห็ดไทย, ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก (ภาคกลาง); พรมดาน (สุโขทัย); ลับมือน้อย (ภาคเหนือ); หญ้าลึกลืน (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มอายุหลายปี ทรงพุ่มตั้งตรง ต้นสูงประมาณ 105.83-132.65 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.3-17.4 มิลลิเมตร ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลแดง ไม่มีขน ใบเรียงตัวแบบขนนกปลายคู่ (even–pinnate) ใบย่อยรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบแหลม ปลายใบแหลมแบบติ่งหนาม (mucronate) ขนาดใบยาว 4.27-5.17 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.69 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2.71-3.99 เซนติเมตร ไม่มีขน ผิวใบสีเขียวเข้ม นุ่ม (tender) หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย หูใบ (stipule) แบบเข็มแหลม (filiform) สีเขียว 2 อัน ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-มิถุนายน ดอกออกที่ซอกใบ เป็นกระจุก ดอกเดี่ยวมีก้านช่อดอกออกจากจุดเดียวกัน ช่อดอกยาว 2.71-4.03 เซนติเมตร มี 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองอมส้ม มี 5 กลีบดอก ฐานรอบกลีบดอกสีขาวอมเหลืองมีขนครุยตามขอบ อับเรณู (anther) สีเหลืองอมน้ำตาล ฝักรูปขอบขนานแบน (oblong) ฝักยาว 11.83-14.91 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้ :  
เมล็ด ทั้งต้น ใบ และ ผล
สรรพคุณ :
  • เมล็ด - ทำให้ง่วงนอนและหลับได้ดี แก้กระษัย ขับปัสสาวะพิการได้ดี เป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคผิวหนัง
  • ทั้งต้น -  ปรุงเป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก รับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้ไอ แก้เสมหะ แก้หืด คุดทะราด
  • ใบ - เป็นยาระบาย
  • ผล - แก้ฟกบวม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  •  ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ดี ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทย คั่วให้ดำเกรียมเหมือนเมล็ดกาแฟ แล้วทำเป็นผง ชงน้ำร้อนอย่างปรุงกาแฟ ดื่มหอมชุ่มชื่นใจดี ไม่ทำให้หัวใจสั่น ให้คนไข้ดื่มต่างน้ำ
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้ใบหรือทั้งต้น ประมาณ 1 กำมือ 15- 3 กรัม เมล็ด 1 หยิบมือ 5- 10 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมกระวาน 2 ผล เพื่อกลบรสเหม็นเขียวและเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้า ส่วนเมล็ดคั่วให้เหลือง ใช้ชงเป็นน้ำชาดื่ม
สารเคมี :
          เมล็ด พบ anthraquinone, emodin chrysarobin, chrysophanic acid-9-anthrone, chrysophanol Rhein aloe-emodin

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

พวงชมพูดอกขาว

พวงชมพูดอกขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์  Antigonon leptopus  Hook & Arn.
ชื่อสามัญ  Chain of love, Confederate Vine, Coral vine 
วงศ์  Polygonaceae
ชื่ออื่น : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เลื้อยพาดพัน ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดอกสีชมพู ที่พบสีขาวมีบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปสามเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้ :  
ราก และเถา
สรรพคุณ : เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง


ชื่อวิทยาศาสตร์  Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อสามัญ  White crane flower
วงศ์   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
:  
1.      ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย  
2.      ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด
3.      ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ 
4.      ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น

นางแย้ม

นางแย้ม


ชื่อวิทยาศาสตร์  Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อพ้อง :  Volkameria fragrans  Vent.
ชื่อสามัญ  Glory Bower
วงศ์  Labiatae
ชื่ออื่น :  ปิ้งหอม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ ต้น ใบ และราก
สรรพคุณ :
  • ใบ  -   แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
  • ราก
    ขับระดู ขับปัสสาวะ
    แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
    แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
    แก้ไข้ แก้ฝีภายใน
    แก้ริดสีดวง ดากโผล่
    แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
    แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ
ตำรับยา และวิธีใช้
1.      เหน็บชา ปวดขา
ใช้ราก 15-30 กรัม ตุ๋นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
2.      ปวดเอวปวดข้อ เหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
ใช้รากแห้ง 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
3.      ขับระดูขาว ลดความดันโลหิตสูง แห้หลอดลมอักเสบ
ใช้ราก และใบแห้ง 15-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
4.      ริดสีดวงทวาร ดากโผล่
ใช้รากแห้งจำนวนพอควร ต้มน้ำ แล้วนั่งแช่ในน้ำนั้นชั่วครู่
5.      โรคผิวหนัง ผื่นคัน เริม
ใช้ใบสด จำนวนพอควร ต้มน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
สารเคมีที่พบ :  มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin

พิลังกาสา

พิลังกาสา


ชื่อวิทยาศาสตร์  Ardisia polycephala  Wall.
วงศ์  MYRSINACEAE
ชื่ออื่น :  ตีนจำ (เลย) ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร ใบจะหนา ใหญ่ มีสีเขียวเป็นมัน ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือตามส่วนยอด ดอกมีสีชมพูอมขาว ผลโตเท่าขนาดเม็ดนุ่น เมื่อยังอ่อนเป็นสีแดง ผลแก่จะเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้ และสรรพคุณ :
  • ใบ  -   แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
  • ดอก ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
  • เมล็ด แก้ลมพิษ
  • ราก - แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
  • ต้น - แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
สารที่พบ α - amyrin, rapanone  ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา - ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding

เปล้าน้อย

เปล้าน้อย


ชื่อวิทยาศาสตร์  Croton stellatopilosus  Ohba
ชื่อพ้อง : Croton sublyratus  Kurz
วงศ์  EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :   เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น สูง 1 - 4 เมตร ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปใบหอกกลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 10 - 15 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง และที่ปลายกิ่ง ดอกช่อย่อยขนาดเล็ก แยกเพศ อยู่ในช่อเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู
สรรพคุณ : ใบ ราก รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น

ข่า

ข่า


ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia  galanga   (L.) Willd.
ชื่อสามัญ  Galanga
วงศ์  Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ข่าหยวก  ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล  เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
สรรพคุณ :
1.      เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
2.      แก้อาหารเป็นพิษ
3.      เป็นยาแก้ลมพิษ
4.      เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.      รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1
½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร
2.      รักษาลมพิษ
ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
3.      รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย
สารเคมี
           1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย monoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linalool, eugenol

ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ


ชื่อวิทยาศาสตร์  Gynura pseudochina  (L.) DC.
วงศ์ Asteraceae  (Compositae)
  ชื่ออื่น :  ดาวเรือง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้หัว ใบสด
สรรพคุณ :
  • หัว 
    -
      รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน
    -
      แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม 
  • ใบสด
    ขับระดู
    ตำพอกฝี หรือหัวละมะลอก งูสวัด เริม ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน 
วิธีและปริมาณที่ใช้
         
ใช้ใบสด 5-6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำในภาชนะทีสะอาด ใส่พิมเสนเล็กน้อย
          ใช้ใบสด 5-6 ใบ โขลกผสมกับสุรา ใช้น้ำทา และพอกบริเวณที่เป็นด้วยก็ได้
ข้อสังเกต - ในการใช้ว่านมหากาฬรักษาเริม และงูสวัด เมื่อหายแล้ว มีการกลับเป็นใหม่น้อยกว่าเมื่อใช้เหล้าขาว

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

ชื่อวิทยาศาสตร์  Clerodendrum serratum L. var. wallichii  C.B.clarke
วงศ์  VERBENACEAE
ชื่ออื่น :  ตรีชะวา (ภาคกลาง) ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ) พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา) หลัวสามเกียน (เชียงใหม่) อัคคี (สุราษฎร์ธานี) อัคคีทวาร (ภาคกลาง, เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบข้างสี่กลีบสีฟ้าสด รูปค่อนข้างกลม หรือรูปไข่กลับกว้าง เมื่อสุกสีม่วงเข้มหรือดำ
ส่วนที่ใช้ทั้งต้น ใบแห้ง ผล ราก
สรรพคุณ :
          ทั้งต้น 
- รักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบ และต้น ตำพอกรักษากลากเกลื้อน โรคเรื้อน พอกแก้ปวดศีรษะเรื้อรัง และแก้ขัดตามข้อ และดูดหนอง

กระบือเจ็ดตัว

กระบือเจ็ดตัว


ชื่อวิทยาศาสตร์  Excoecaria cochinchinensis  Lour. var.cochinchinensis
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง)  ใบท้องแดง (จันทบุรี)
ส่วนที่ใช้ :
 ใบ ยางจากต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1.5 ม. มียางขาว ใบเดี่ยว มีทั้งเรียงตรงข้ามและเรียงสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามง่ามใบ ข้างใบ หรือปลายยอด ยาว 1-2 ซม. ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เล็กมาก เกสรเพศผู้เล็กมาก มี 3 อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีดอกเล็กๆ 3-6 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมีต่อมเล็กๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปไข่ รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี 3 พู
สรรพคุณ :
  • ใบ  -   ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เป็นยาขับเลือดเน่าสำหรับสตรีในเรือนไฟ
  • ยางจากต้น - เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา
วิธีใช้ :  นำใบมาตำกับสุรา คั้นเอาน้ำรับประทาน

แก้ว

แก้ว


ชื่อวิทยาศาสตร์  Murraya paniculata  (L.) Jack.
ชื่อสามัญ  Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
วงศ์  RUTACEAE
ชื่ออื่น :  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล
ส่วนที่ใช้ :  
ราก ใบ
สรรพคุณ :  เป็นยาขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้
:           ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น

ส้มเสี้ยว

ส้มเสี้ยว


ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia malabarica  roxb.
วงศ์  LEGUMINOSAE-CAESALPINIODIDEAE
ชื่ออื่น :  คังโค (สุพรรณบุรี) แดงโค (สระบุรี) ป้าม (ส่วย-สุรินทร์) ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ) เสี้ยวส้ม (นครราชสึมา) เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดยาวตามลำต้น ใบ ทรงกลมเว้า ปลายเป็นพูกลมตื้นๆ ใบแก่เหนียว เรียบ ท้องใบมีนวล สีเขียวออกเทา ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน เป็นช่อเล็กๆ ออกดอกเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ผล เป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล เมล็ดแบน ผิวเรียบมัน  มี 8-12 เมล็ด ออกผลเดือนกรกฏาคม - กันยายน แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง
ส่วนที่ใช้ :
ใบ เปลือกต้น
สรรพคุณ :
  • ใบ - มีรสเปรี้ยวฝาด เป็นยาขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะ
    - แก้แผลเปื่อยพัง
    ใช้ใบส้มเสี้ยวร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี
    ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น
  • เปลือกต้น - รสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต

เปราะหอมขาว, เปราะหอมแดง

เปราะหอมขาว, เปราะหอมแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia galanga L.
ชื่อสามัญ  Sand Ginger, Aromatic Ginger, Resurrection Lily
วงศ์  ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น :  หอมเปราะ (ภาคกลาง) ว่านตีนดิน ว่านแผ่นดินเย็น ว่านหอม (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 ซม.ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 ซม.มี 4-12 ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง
ส่วนที่ใช้
ดอก ต้น หัว ใบทั้งสด หรือ แห้ง
สรรพคุณ : เปราะหอมขาว
  • ดอก  -  แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก ตาช้อนดูหลังคา
  • ต้น - ขับเลือดเน่าของสตรี
  • ใบ - ใช้ปรุงเป็นผักรับประทานได้
  • หัว
    - แก้โลหิต ซึ่งเจือด้วยลมพิษ
    - ปรุงเป็นเครื่องเทศสำหรับแกง สุมศีรษะเด็ก แก้หวัด คัดจมูก รับประทานขับลมในลำไส้
สรรพคุณ : เปราะหอมแดง
  • ใบ - แก้เกลื้อนช้าง
  • ดอก - แก้โรคตา
  • ต้น - แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
  • หัว - ขับเลือด และหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล
  • หัวและใบ - ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ทั้งเปราะหอมขาว และเปราะหอมแดง ใช้เปราะหอมสด 10-15 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หัวสดใช้ 1/2-1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ดื่ม 1-2 ครั้ง
  • เปราะหอมขาวและแดง เป็นไม้ลงหัว จำพวกมหากาฬ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน ม้วนๆ คล้ายๆ หูม้า หน้าใบเขียว เปราะหอมขาว ท้องใบมีสีขาว เปราะหอมแดง ท้องใบมีสีแดง ใบยาวราว 3-4 นิ้วฟุต ใบมีกลิ่นหอม ลงหัวกลมๆ เป็นไม้เจริญในฤดูฝนพอย่างเข้าฤดูหนาว ต้นและใบก็โทรมไป เปราะหอมทั้งสองรสเผ็ดขม แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ลมทิ้ง

ตาเสือ

ตาเสือ


ชื่อวิทยาศาสตร์  Amoora culcullata Roxb.
วงศ์  MELIACEAE
ชื่ออื่น :  แดงน้ำ (ภาคใต้)  ตาเสือ, โกล (ภาคกลาง) เซ่ (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง อาจสูงถึง 18 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 30-50 ซม. จากผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 20-40 ซม. ขอบใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ไม่สมมาตรกัน ขนาด 3-6 x 8-17 ซม. ปลายใบแหลมถึงมน ฐานใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อ เพศผู้เป็นแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกห้อยลง แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.4 ซม. สีเหลือง ดอกเพศเมียเป็นแบบช่อกระจะ มีดอกจำนวนน้อย วงกลีบเลี้ยงแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก 3 กลีบ ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 ซม. มี 3 พลู ผลแก่แห้งแตกกลางพลู เมล็ด มีเยื่ออ่อนนุ่มสีแดงหุ้ม
          เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อยตามริมชายฝั่งของแม่น้ำที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล
ส่วนที่ใช้ :
เปลือกต้น เนื้อไม้ ผล ใบ
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น  -  รสฝาด กล่อมเสมหะ ขับโลหิต
  • เนื้อไม้ - รสฝาด แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย
  • ผล - แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
  • ใบ - แก้บวม 

ที่มาของภาพและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ http://www.dmcr.go.th/omrc/flower06.html

ว่านสากเหล็ก

ว่านสากเหล็ก


ชื่อวิทยาศาสตร์  Molineria latifolia  Herb. ex Kurz
วงศ์  HYPOXIDACEAE
ชื่ออื่น :  จ๊าลาน มะพร้าวนกคุ่ม (เชียงใหม่)  พร้าวนก พร้าวนกคุ่ม (นครศรีธรรมราช)  ละโมยอ (มาลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายพืชพวกปาล์ม ใบ เรียงสลับติดกันที่โคนต้น แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก พับเป็นร่อง ๆ ตามยาว คล้ายใบปาล์ม กว้างประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบแคบ ก้านใบยาว 25 – 30 เซนติเมตร โคนแผ่กว้างหุ้มลำต้น ดอก มี 6 กลีบ สีเหลือง โคนเชื่อมติดกัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 2.5 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันแน่น เป็นช่อรูปทรงกระบอกปลายแหลม ยาว 5 – 7 เซนติเมตร กว้าง ประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ผล ผลแก่สีขาวถึงแดง ขนาดยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ส่วนที่ด้านขั้วป่อง ออกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวไปทางปลายผล ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้
ราก
สรรพคุณ :
  • ราก  -  รับประทานเป็นยาชักมดลูก เช่น คลอดบุตรใหม่ๆ มดลูกลอย เพราะความอักเสบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวของมดลูกจากที่เดิมให้เป็นปกติ
วิธีใช้ : นำรากมาหั่นบางๆ ตากแห้ง ดองกับสุรารับประทานเป็นยาชักมดลูก  

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumbago indica  L.
วงศ์  PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น :  คุยวู่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)  ตั้งชู้โว้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ปิดปิวแดง (ภาคเหนือ) ไฟใต้ดิน (ภาคใต้)  อุบะกูจ๊ะ (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-2 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ยาว 3-13 ซม. โคนใบมนหรือกลม ปลายใบแหลม ใบบาง ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกจำนวนมาก ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 0.8-0.9 ซม. มีต่อมทั่วไป ดอกสีแดงหรือม่วง หลอดกลีบดอกยาว 2-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาด มีขนยาวที่โคน
ส่วนที่ใช้
ราก
สรรพคุณ
: เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ธาตุพิการ เป็นยาบำรุง เป็นยาขับประจำเดือน เป็นยาฆ่าเชื้อโรค
วิธีใช้
  • เป็นยาขมเจริญอาหารใช้รากแห้งผสมกับ ผลสมอพิเภก ดีปลี ขิง  อย่างละเท่าๆ กัน บดเป็นผงรวมกัน รับประทานกับน้ำร้อน ครั้งละ 2.5 กรัม ประมาณ 1 ช้อนแกง
    ข้อควรระวัง - สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้
  • เป็นยาขับประจำเดือนใช้รากแห้ง 1-2 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์  Plumbago zeylanica  L.
ชื่อสามัญ  
วงศ์ PLUMBAGINACEAE
ชื่ออื่น :  ตอชุวา, ตั้งชูอ้วย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)  ปิดปิวขาว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 1-3 เมตร กิ่งก้านมักทอดยาว ใบรูปไข่ ยาว 3-13 ซม. ปลายใบแหลมยาว ตอนปลายเป็นติ่ง โคนในรูปลิ่มหรือมน ใบบาง ช่อดอกแบบช่อกระจะเชิงลด ดอกจำนวนมาก แกนกลางและก้านช่อดอกมีต่อมไร้ก้าน (เจตมูลเพลิงแดงไม่มี) ช่อดอกยาวได้ประมาณ 15 ซม. ก้านช่อยาว 1.5-2 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 0.4-0.8 ซม. ใบประดับย่อยรูปแถบ ยาวประมาณ 0.2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 ซม. มีต่อมหนาแน่น กลีบดอกสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.7 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่ง อับเรณูสีน้ำเงิน ยาวประมาณ 0.2 ซม. รังไข่รูปรี เป็น 5 เหลี่ยม ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ผลแบบแคปซูล
ส่วนที่ใช้ :  ราก ต้น ใบ
สรรพคุณ :
  • ราก  -  เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคัน ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ ขับประจำเดือน ขับลมลำไส้ แก้อาการหาวเรอ
  • ต้น - เป็นยาขับระดู
  • ใบ - แก้ฟกช้ำ ฝีบวม มาเลเรีย
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงท้อง จะทำให้แท้งได้ เพราะมีฤทธิ์ร้อนและบีบมดลูกเหมือนรากเจตมูลเพลิงแดง (Plumbago indica L.) แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า
ข้อควรระวัง  : เมื่อทาเจตมูลเพลิงขาวแล้ว ให้สังเกตว่าโรคผิวหนังอาการดีขึ้นหรือไม่ ถ้ามีอาการปพุพองมากขึ้นให้รีบหยุดยา เพราะยาตัวนี้ ถ้าใช้มากจะทำให้เป็นแผลพุพองได้
ตำรับยาและวิธีใช้
  • ปวดข้อหรือเคล็ดขัดยอก
    ใช้รากแห้ง 1.5-3 กรัม ต้มน้ำหรือแช่เหล้า รับประทานครั้งละ 5 ซี.ซี. วันละ 2 ครั้ง
  • ขับประจำเดือน
    ใช้รากแห้ง 30 กรัม และเนื้อหมูแดง 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • แก้กลากเกลื้อน
    ใช้รากสด 1-2 ราก ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำหรือเหล้าหรือน้ำมันพืชเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็ฯ
  • แก้ไข้มาเลเรีย
    ใช้ใบสด 7-8 ใบ ตำละเอียด พอกบริเวณชีพจรตรงข้อมือ 2 ข้าง ก่อนจะเกิดอาการ 2 ชั่วโมง (พอกจนกระทั่งบริเวณที่พอกรู้สึกเย็นจึงเอาออก)
  • ฝีคัณฑสูตร ฝีบวม เต้านมอักเสบ ไฟลามทุ่ง
    ใช้ใบสดพอประมาณ ตำให้ละเอียด ใช้ผ้าก๊อส 2 ชั้นห่อพอกบริเวณที่เป็นจนกระทั่งหาย
  • ฟกช้ำ ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ใส่เหล้าเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น
สารเคมี  ราก มี plumbagin 3.3-bilumbagin, 3-chloroplumbagin